วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

  การัฐประหาร  

22 พฤษภาคม  2557
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้านี้ เกิดรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และความเชื่อว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีอิทธิพลในการเมืองไทย
ในวันที่ 20 พฤษภาคม ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่เวลา 3.00 น. กองทัพบกตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) และให้ยกเลิกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) กอ.รส. ปิดสื่อ ตรวจพิจารณาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และจัดประชุมเพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศ แต่การประชุมไม่เป็นผล จึงเป็นข้ออ้างรัฐประหารครั้งนี้
หลังรัฐประหาร มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงยกเว้นหมวด 2 คณะรัฐมนตรีรักษาการหมดอำนาจ ตลอดจนให้ยุบวุฒิสภา ปัจจุบัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี คสช. มีการจัดส่วนงานต่าง ๆ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน และระบุว่าจะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ไม่มีคำมั่นว่าประเทศจะหวนกลับสู่การปกครองโดยพลเรือนโดยเร็ว
         หลายประเทศประณามรัฐประหารครั้งนี้ รวมทั้งมีการกดดันต่าง ๆ เช่น ลดกิจกรรมทางทหารและลดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่คนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความยินดี โดยมองว่าเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมือง แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ เนื่องจากไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย

เบื้องหลัง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลใหม่โดยมียิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ภายหลัง สุเทพตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตั้ง "สภาประชาชน" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูปการเมือง กลุ่มนิยมรัฐบาล รวมทั้ง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดชุมนุมเช่นกัน มีความรุนแรงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก[1][2]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ยิ่งลักษณ์ยุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันนั้นเพราะถูกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลขัดขวาง ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนการเลือกตั้งในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557[3] ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ให้ยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่มีมติย้ายข้าราชการระดับสูงซึ่งเป็นที่โต้เถียงใน พ.ศ. 2554[4][5] รัฐมนตรีที่เหลืออยู่เลือกนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีแทนยิ่งลักษณ์[6] แต่การประท้วงยังดำเนินต่อ

ลำดับเหตุการณ์

20 พฤษภาคม 2557

  • 04:00 น. - สื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่ประกาศกฎอัยการศึก และประกาศจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) 
  • 08:25 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอดแถลงการณ์จากกองทัพบกทุกครั้งที่ได้รับการประสาน
  • 09:48 น. - กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ
  • 10:36 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต
  • 11:06 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
  • 12:40 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุมแก้ปัญหาความไม่สงบ
  • 14:00 น. กอ.รส. เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม
  • 19:34 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 8 ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย
  • 19:45 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 7 สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียมระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง
  • 20:09 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 9 สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.
  • 20:49 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ-เจ้าหน้าที่พลเรือน-ประชาชน พกพา-ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง
  • 21:04 น. พันเอกวินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึกว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12 ให้ตำรวจ, เจ้าหน้าที่พลเรือน, หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ


22 พฤษภาคม

ทหารบกมีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้
  • 14:00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 ตามประกาศกอ.รส. ฉบับที่ 8/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในที่ประชุม ระหว่างการประชุม พลเอก ประยุทธ์ เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ หลังจากเวลาผ่านไปสองชั่วโมงก็ไม่มีข้อยุติ ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ กับจตุพร พรหมพันธุ์แยกไปหารือเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกัน ประยุทธ์ก็ได้หารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพไปพร้อม ๆ กัน เมื่อกลับมาหารือกันต่อ ประยุทธ์ได้สอบถาม ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะหัวหน้าตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออก ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่งชัยเกษม ระบุว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย ประยุทธ์จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครอง และสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 17:00 น. - เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. กับเจ้าหน้าที่ทหารบริเวณถนนอุทยาน
  • 17:30 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเข้าคุมพื้นที่ถนนอุทยานสำเร็จ และสั่งให้กลุ่ม นปช. ยุติความเคลื่อนไหวจนกว่าจะมีคำสั่ง สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ของตน และให้อยู่ในอำนาจตามที่กำหนด
  • 18:00 น. - คสช. ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง
  • 18:20 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. - 5.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ผลแห่งประกาศนี้ทำให้สถานที่สำคัญหลายแห่งทั่วประเทศประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป รวมถึงระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ก็ประกาศปิดทำการก่อนเวลาเช่นกัน กล่าวคือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. สำหรับสายซิตี้ไลน์จะออกในเวลา 21.02 น. และสำหรับสายเอ็กซ์เพรสไลน์ จะออกจากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเที่ยวสุดท้ายในเวลา 21.00 น.
  • 18:30 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 4 บังคับให้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมทุกสถานี งดออกอากาศรายการตามปกติ และให้ใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงผลแห่งประกาศนี้ทำให้ ทรูวิชันส์จีเอ็มเอ็มแซต และซีทีเอช[34] ที่เป็นบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ต้องใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปบนช่องรายการทุกช่องโดยไม่ว่าจะเป็นช่องรายการในประเทศหรือนอกประเทศจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
  • 19:00 น. - คสช. ออกประกาศให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมกลับสู่ภูมิลำเนาตามเดิม โดยทางกองทัพบกได้จัดขบวนรถจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่ออำนวยความสะดวก และได้ออกคำสั่งให้ทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่ช่วยจัดการบริหารให้ประชาชนเดินทางกลับ[26]
  • 19:19 น. -คสช. ออกประกาศฉบับที่ 6[26]
  • 19:42 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 7[26]
  • 20:55 น. - คสช. ได้ออกประกาศฉบับที่ 8 โดยให้ยกเว้นข้อห้ามการออกจากเคหสถานยามค่ำคืนให้กับบางบุคคล[26]
  • 21:00 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 1 โดยให้อดีตรัฐมนตรี 18 คนเข้ารายงานตัว[35]
  • นหมวด 2 พระมหากษัตริย์[26]

23 พฤษภาคม

  • 00:01 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 12[26]
  • 00:52 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 13[26]
  • 00:57 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 14[26]
  • 01:03 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 15 โดยให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิทัล และวิทยุชุมชน ทั้งหมด 15 ช่อง ตามคำสั่ง กอ.รส. ฉบับที่ 6 และ 7/2557[26]
  • 01:14 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 2 เพื่อเรียกตัวบุคคลสำคัญทั้งสิ้น 23 คน รวมยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าพบ คสช.[26]
  • 01:35 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 16[26]
  • 01:39 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 17[26]
  • 01:47 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 18[26]
  • 01:59 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 19[26]
  • 03:00 น. - ตัวแทนฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกคุมตัวได้รับการปล่อยตัว[36]
  • 09:00 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 เพื่อเรียกตัวบุคคลสำคัญเข้าพบเพิ่มอีก 114 คน เข้าพบ คสช. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในเวลา 10:00 น.[26]
  • 09:57 น. - อดีตคณะรัฐมนตรี รวมยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และกลุ่มบุคคลตามคำสั่งที่ 1-3 ทยอยมารายงานตัวกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในขณะที่ตัวแทนฝ่ายพรรคเพื่อไทยก็ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน[37][38][39][40]
  • 11:40 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 20[26]
  • 12:10 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 21[26]
รูปแบบตราเครื่องหมาย คสช.ที่แสดงบนหน้าจอ ของช่องโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต
  • 16:32 น. - คสช. อนุมัติให้ประกาศฉบับที่ 4/2557 ไม่มีผลกับโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเพิ่มเติม ดังนั้น สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สามารถกลับมาออกอากาศได้ตามปกติ ตั้งแต่เวลา 18:00 น. ของวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[42]
  • 16:55 น. - กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารเริ่มตั้งกลุ่มชุมนุมบริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน เจ้าหน้าที่ทหารได้พยายามขอคืนพื้นที่แต่ไม่สำเร็จ[43]
  • 16:59 น. - อิสสระ สมชัย แถลงว่า แกนนำกลุ่ม กปปส. ทั้งหมด 30 คน จะเข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ดีเอสไอในช่วงเช้าของวันที่ 26 พฤษภาคม[44]
  • 17:07 น. - กลุ่มประชาชนเริ่มใช้พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ แขวนป้ายแสดงจุดยืนต่อต้านการรัฐประหาร[43]
  • 17:17 น. - กลุ่มทหารเริ่มใช้อำนาจสลายการชุมนุมบริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แต่ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมโห่ไล่จนต้องถอนตัวออกจากพื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
  • 18:05 น. - สถานีโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกทั้ง 6 ช่อง กลับมาออกอากาศรายการตามปกติ โดยแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนดไว้บนหน้าจอ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการอนุโลมให้ออกอากาศ[45]
  • 18:09 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 22[26]
  • 19:30 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มสลายการชุมนุมบริเวณด้านหน้าหอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอีกครั้ง หลังครั้งที่แล้วไม่สำเร็จ[46] มีผู้ถูกจับกุม 5 คน ทราบชื่อ 3 คน คือ ธนาพล อิ๋วสกุลบรรณาธิการนิตยสารและสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, ว่าที่ร้อยตรีอภิชาติ พงษ์สวัสดิ์ และบุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์[47]
  • 20:10 น. - เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ มีประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมอย่างน้อย 5 ราย ทราบชื่อ 3 ราย คือ อภิชาติ พงษ์สวัสดิ์, บุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์ และสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และประสานให้หอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติตัดไฟบริเวณด้านหน้าอาคารและทางเดินสกายวอล์คทั้งหมด ทั้งจัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยทั้งบนสถานีรถไฟฟ้า และด้านหน้าอาคาร[46][48]
  • 20:15 น. - คสช. ปล่อยตัว สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย หลังเข้าควบคุมตัวขณะเข้ามารายงานตัวเมื่อช่วงบ่าย[49]ส่วนยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกเจ้าหน้าที่ทหารคุมตัวขึ้นรถตู้ไปยังค่ายอดิสร จังหวัดสระบุรี และกักตัวไว้เป็นเวลา 3 วันเพื่อความปลอดภัย[50]
  • 23:30 น. - คสช. ประกาศเรียกผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมด เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และรับฟังคำชี้แจงแนวทาง ในการกลับมาออกอากาศ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามปกติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09:00 น. ที่กองบัญชาการรักษาความสงบแห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง]

24 พฤษภาคม

  • 09:35 น. - ผู้ให้บริการช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับชาติ เข้าพบ คสช. โดยคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ในวันเดียวกัน[51]
  • 10:25 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 เพื่อเรียกตัวบุคคลสำคัญทั้งสิ้น 35 คน มีทั้งสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, บุคคลสำคัญของกลุ่มพันธมิตรฯ, บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองย้อนหลังไปจนถึง พ.ศ. 2549 และศรันย์ ฉุยฉาย (อั้ม เนโกะ) อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าพบ คสช.[52]
  • 10:40 น. - คสช. ออกประกาศเฉพาะฉบับที่ 25[53]
  • 10:50 น. - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 4/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้นวอยซ์ทีวี ช่อง 21 ที่ยังระงับการออกอากาศ[51] ซึ่งแต่เดิมรวมถึงโทรทัศน์ดาวเทียม 274 ช่องรายการ ที่มีเนื้อหาสาระซึ่งไม่ขัดต่อประกาศ คสช.ด้วย[54] โดยทุกช่องที่กลับมาออกอากาศจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนดไว้บนหน้าจอ
  • 10:53 น. - เจ้าหน้าที่ทหารปิดการจราจรบนถนนพหลโยธินทั้งขาเข้าและขาออก ใกล้กับสี่แยกรัชโยธิน หลังเริ่มมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาประท้วงรัฐประหาร[55]
  • 11:58 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มตรึงกำลังบริเวณด้านหน้าโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เขตจตุจักร หลังมีผู้ชุมนุมเริ่มตั้งกลุ่มประท้วงการทำรัฐประหารอีกครั้งและมีทีท่าว่าเหตุการณ์จะบานปลาย[55]
  • 15:03 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 27[56]
  • 16:15 น. - เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจชุดควบคุมฝูงชนเริ่มตรึงพื้นที่บริเวณทางเข้าสถานีตำรวจนครบาล บางซื่อ หลังเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สำเร็จ และต้องการเคลื่อนขบวนต่อ โดยผู้ชุมนุมเตรียมใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสในการหลีกเลี่ยงการปะทะกับเจ้าหน้าที่ และเดินทางไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[57][58]
  • 16:40 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร เริ่มใช้พื้นที่บนสกายวอล์ครอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิปักหลักชุมนุม[57]
  • 16:57 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มบุกเข้ามาในพื้นที่ชุมนุม แต่ฝั่งผู้ชุมนุมขัดขืนและวิ่งไล่เจ้าหน้าที่ให้ออกจากพื้นที่ชุมนุม[57]
  • 17:00 น. - ผู้ชุมนุมบางส่วนปักหลักชุมนุมที่บริเวณสี่แยกปทุมวันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้ตรึงกำลังไว้ก่อน ภายหลังผู้ชุมนุมถอยร่นไปยังบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ บางส่วนหนีเข้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ แต่ไม่นานเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าจะออกมาปิดประตูทางเชื่อมสกายวอล์คทั้งหมด[57]
  • 17:54 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 28 โดยระบุว่าถวายรายงานสถานการณ์ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบ และมีหนังสือตอบกลับจากสำนักราชเลขาธิการว่าความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเรียบร้อยแล้ว[59]
  • 18:00 น. - พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวได้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายหลังจึงส่งไปรายงานตัวต่อ คสช. ก่อนจะถูกย้ายตัวไปยังค่ายทหาร เช่นเดียวกับผู้เข้ารายงานตัว คนอื่นๆ[60]
  • 18:11 น. - ผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกปทุมวัน เริ่มทยอยกลับ[57]
  • 18:48 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 7, 8, 9 เนื้อหาย้ายและแต่งตั้งข้าราชการ และออกประกาศฉบับที่ 30 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง[61]
  • 19:00 น. - คสช.บังคับให้ช่องโทรทัศน์ดาวเทียม ที่ไม่เป็นช่องโทรทัศน์บอกรับสมาชิกหลายช่อง งดออกอากาศรายการปกติอีกครั้ง โดยช่องซีเอ็นเอ็นบีบีซี เวิลด์นิวส์ ตลอดจนช่องข่าวจากต่างประเทศทั้งหมด ถูกระงับการออกอากาศไปก่อน ตั้งแต่ประกาศที่ 27/2557 มีผลใช้บังคับ[ต้องการอ้างอิง]
  • 20:15 น. - คสช. ออกคำสั่งห้ามผู้ให้บริการโทรทัศน์ทุกช่อง มิให้เปิดรับข้อความตัวอักษร หรือการโทรศัพท์เข้าแสดงความคิดเห็นต่างๆ ภายในรายการ หากฝ่าฝืน คสช.จะลงโทษจากเบาไปหาหนักคือ ตักเตือน เรียกพบ และออกคำสั่งระงับสัญญาณช่องรายการในที่สุด[54]
  • 21:11 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 และฉบับที่ 10[62] และออกประกาศฉบับที่ 29, 31, 32, 33
  • 21:36 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 11 เนื้อหาย้ายและแต่งตั้งข้าราชการ และฉบับที่ 12[63]
  • 23:28 น. - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รักษาการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งให้นายตำรวจ 8 รายที่เกี่ยวข้องกับทักษิณ ชินวัตร ให้ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน โดยให้ละทิ้งหน้าที่เดิมที่รับผิดชอบอยู่ รวมถึงแต่งตั้งนายตำรวจรักษาการแทน[65]

25 พฤษภาคม

  • 8:57 น. - หัวหน้า คสช. ออกแถลงถึงเหตุการณ์ย้ายข้าราชการระดับสูงและเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงคืนวานนี้ และอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมต้องออกคำสั่งเรียกตัวบุคคลมาพบ ก็เพื่อให้มาปรับความเข้าใจเรื่องความขัดแย้ง[ต้องการอ้างอิง]
  • 10:00 น. - กลุ่มต่อต้านรัฐประหารได้เดินทางมายังร้านแมคโดนัลด์ สาขาศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซ่า ใกล้แยกราชประสงค์ เพื่อทำกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร โดยทหารได้ตรึงกำลังโดยรอบ มีรายงานผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว 1 ราย[ต้องการอ้างอิง]
  • 10:00 น. - ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ เดินทางเข้าพบ คสช. ตามคำสั่ง โดยเข้ามาพร้อมกับ อานนท์ นำภา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3 คน[66] หลังจากนั้นไม่นานไพวงษ์ เตชะณรงค์, วิมลรัตน์ กุลดิลก และพิชิต ชื่นบาน ก็เดินทางเข้าพบ คสช. ตามคำสั่งเช่นกัน[67]
  • 10:10 น. - เจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3 คน เดินทางออกจากหอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ โดยไม่ได้มีอานนท์ นำภา และประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ติดตามออกมาด้วย[66]
  • 11:30 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกเดินทางจากสถานทูตไปสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกลุ่มที่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซ่า ในเวลาไม่นานเจ้าหน้าที่ก็ได้เข้ามาตรึงกำลัง และปิดการจราจรบนถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกสารสินจนถึงแยกเพลินจิต เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ชุมนุมมาชุมนุมด้านหน้าสถานทูตอีก[68]
  • 14:30 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนตัวจากบริเวณหน้าศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซา ผ่านแยกราชประสงค์ ไปทางประตูน้ำ เพื่อเดินทางไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[ต้องการอ้างอิง]
  • 14:40 น. - คสช. ออกแถลงว่าได้ประสานให้กระทรวงการต่างประเทศเตรียมดำเนินคดีโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ฐานลงข้อความที่ผิดต่อประกาศ คสช. และพยายามอ้างว่ารัฐบาลไทยกำลังจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยเบื้องต้นได้แจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึงข้อความดังกล่าวทุกวิถีทางแล้ว[69]
  • 14:51 น. - คสช. ออกแถลงว่าให้ชาวนาเข้ามารับเงินค่าจำนำที่ค่ายทหารและกองทัพอากาศ ในช่วงบ่ายของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้งบสี่หมื่นล้านบาทที่เป็นเงินกู้สภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการจ่ายล็อตแรก ส่วนล็อตหลังจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศทั้งหมดห้าหมื่นล้านบาท โดย คสช. คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือน ในการจ่ายเงินค่าจำนำให้ชาวนาครบทุกราย ส่วนระยะเวลาการชำระคืนคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 14-15 เดือน ถึงจะสามารถปลดหนี้ส่วนนี้ได้[70]
  • 15:00 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว[ต้องการอ้างอิง]
  • 16:02 น. - วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวความมั่นคง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รายงานอ้างถึงคำแถลงของ คสช. ว่าผู้บัญชาการทหารบกสหรัฐอเมริกา โทรศัพท์ถึง พลเอก ประยุทธ์ โดยเชื่อใจและให้กำลังใจ พลเอก ประยุทธ์ ในรัฐประหารครั้งนี้[71]
  • 16:12 น. - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุว่าเศร้าสลดกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และต้องการให้ คสช. คืนอำนาจแก่ประชาชนโดยเร็ว[72]
  • 16:23 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 37 ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-118 และความผิดตามประกาศหรือคำสั่งของ คสช. โดยให้ยกเว้นคดีความผิดในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พ.ร.บ. มั่นคง) และ พ.ร.บ. บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน[73] ภายหลังมีประกาศเพิ่มเติมว่าความผิดข้างต้น ห้ามจำเลยแต่งตั้งทนายมาสู้คดี และจำเลยไม่มีสิทธิ์นำคดีไปยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา[ต้องการอ้างอิง]
  • 18:31 น. - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว โดยให้รอรับพระบรมราชโองการ ที่กองบัญชาการทหารบกในเวลา 10:49 น. ของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[74]
  • 19:50 น. - พลโท ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 สั่งปลด พลตำรวจตรี กริช กิติลือ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ละทิ้งหน้าที่ปัจจุบัน และย้ายเข้ามาช่วยราชการโดยไม่มีตำแหน่งใน สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 หลังมีเบาะแสว่า พลตำรวจตรี กริชแอบให้ความช่วยเหลือพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายพันตำรวจโท ทักษิณ[75]
  • 19:58 น. - คสช. ทวิตอย่างเป็นทางการ ขอความร่วมมือให้ประชาชนหรือร้องขอให้บุคคลในครอบครัว ไม่ออกมาเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านการทำงานของ คสช. เพราะถึงทำไปก็ไม่มีประโยชน์ และเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิ์ดำเนินการตามคำสั่งภายใต้กฎอัยการศึกและประกาศหรือคำสั่งของ คสช. และถ้าประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับบาดเจ็บ จะไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง[76]
  • 20:33 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 14, 15 และ 16 โดยให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม 38 คน โดยรวมอรรถชัย อนันตเมฆ อดีตข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[77] และฉบับที่ 17 อนุญาตให้ขนส่งสินค้าทางบก/ทางน้ำ/ทางอากาศในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหสถาน แต่เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ[78]
  • 21:09 น. - ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ประกาศยกเลิกคำสั่งย้าย พลตำรวจตรี กริช กิติลือ หลังมีหนังสือส่งมาอีกฉบับว่า ตัวหนังสือที่ส่งมาก่อนหน้ามีเหตุขัดข้องบางประการ[79]
  • 21:34 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 38[80]
  • 22:45 น. - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายทหาร[81]
  • 23:45 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 19 โดยให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่ม 2 คน[83]

26 พฤษภาคม

  • 9:25 น. - ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ออกมายืนยันว่าพร้อมจ่ายค่าจำนำให้ชาวนาภายในสามวัน โดยจะจ่ายครบ 830,000 คน ภายในเดือนมิถุนายนนี้[ต้องการอ้างอิง]
  • 9:49 น. - เจ้าหน้าที่ทหารคุมตัวสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมแกนนำ กปปส. ออกจากค่ายทหาร และพาเข้ารายงานตัวในคดีกบฏกับสำนักงานอัยการสูงสุด[84]
  • 10:49 น. - กองทัพบกจัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [85][86]
  • 11:24 น. - พลเอก ประยุทธ์ แถลงข่าวหลังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นหัวหน้า คสช.[87]ความตอนหนึ่งว่า จำเป็นต้องรัฐประหารเพื่อให้ประเทศเดินหน้า จากนี้จะแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ระหว่างนี้ คสช. จะบริหารราชการไปพลางก่อน[88]
  • 12:00 น. - ศาลอาญามีคำสั่งประทับรับฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องสุเทพ เทือกสุบรรณ ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากกรณีมีคำสั่งสลายการชุมนุมของ นปช. เมื่อ พ.ศ. 2553 ส่วนคดีกบฏ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษยังไม่ได้มีการพิจารณา[89]
  • 14:00 น. - สุเทพ เทือกสุบรรณ ยื่นคำร้องและหลักทรัพย์เป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารกสิกรไทยเพื่อขอประกันตัว ต่อมาศาลอนุมัติคำร้องให้ประกันตัวได้ โดยตีราคาการประกันตัวที่ 600,000 บาท และมีข้อแม้ว่าห้าม สุเทพ เทือกสุบรรณ เดินทางออกจากประเทศ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากศาล อีกทั้งศาลนัดให้มาตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ภายหลังเจ้าหน้าที่คุมตัวขึ้นรถและเดินทางกลับไปยังบ้านพักตามปกติ[89]
  • 15:28 น. - แกนนำ กปปส. 13 ราย ได้รับการประกันตัวชั่วคราว หลังวางเงินประกันตัวคนละ 100,000 บาท อัยการนัดสอบปากคำเพิ่มรายบุคคลภายหลัง[90]
  • 16:30 น. - กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐประหารเดินทางมาชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอีกครั้งเป็นวันที่ 3[ต้องการอ้างอิง]
  • 18:30 น. - กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐประหารแยกย้ายออกจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและบริเวณข้างเคียง[ต้องการอ้างอิง]
  • 20:08 น. - ทรูวิชันส์ ออกแถลงกรณีการระงับการออกอากาศช่องข่าวสารต่างประเทศ 14 ช่อง เช่น ซีเอ็นเอ็น, บีบีซี เวิลด์นิวส์, ซีเอ็นบีซี ว่าช่องรายการดังกล่าวไม่สามารถควบคุมเนื้อหาบนจอโทรทัศน์ได้ อาจเข้าข่ายความผิดตามประกาศของ คสช. จึงจำเป็นต้องระงับการส่งสัญญาณชั่วคราว[91]
  • 21:07 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 39, 40 และ 41[92][93]
  • 21:45 น. - พันเอก ณัฐวัฒน์ จันทร์เจริญ รองโฆษกกองทัพบก แถลงกรณีที่มีการแชร์ข้อความในเฟซบุ๊ก จากบุคคลที่อ้างว่าชื่อ "ตาล" ที่ลงประกาศจ้างบุคคลชุมนุมต่อต้าน คสช. โดยมีค่าแรงให้วันละ 400 บาทถึง 1,000 บาทต่อคน[94] รวมถึงระบุว่ามีนายทุนตู้ม้าเถื่อนคอยหนุนหลังสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนออกมาต้าน คสช. และขอประชาชนอย่าชุมนุมต่อต้าน คสช.[95]

27 พฤษภาคม

  • 14:00 น. - พล.ต.พลภัทร วรรณภักตร์ เลขานุการกองทัพบก ได้เชิญตัวศุภฤกษ์ ธงไชยฤทธิ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และวาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เข้าพบที่ห้องทำงานเพื่อแจ้งข้อความจาก พล.อ.ประยุทธ์ ให้รับทราบ พร้อมขอความร่วมมือกรณีการตั้งคำถามกับ พล.อ.ประยุทธ์ เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ รู้สึกไม่ดีต่อการที่ต้องถูกตั้งคำถามในลักษณะรุกไล่[97]
  • 15:40 น. - ทหารเข้าควบคุมตัวจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต ท่ามกลางผู้สื่อข่าวจำนวนมาก โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน[98][99]
  • 20:40 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 42 โดยปรับเวลาห้ามออกนอกจากเคหสถาน จากเดิมเป็น เวลา 00.01 - 4.00 น. และออกคำสั่งเฉพาะฉบับที่ 24

28 พฤษภาคม

  • 15:55 น. - เว็บไซต์เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมถูกปิดชั่วคราว ผู้ใช้บริการของทีโอที เมื่อเข้าเพจดังกล่าวจะพบข้อความ “ปิดชั่วคราว ตามคำสั่ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย” ก่อนกลับมาใช้ได้ตามปกติเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.[100]
  • 16:45 น. - เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจาตุรนต์มายังกองบังคับการปราบปราม เพื่อเตรียมนำตัวไปขึ้นศาลทหาร นับเป็นพลเรือนคนแรกที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร[101]
  • 18:30 น. - เกิดความวุ่นวายระหว่างการชุมนุมประท้วงรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทหารจับผู้ชุมนุมไป 2 คน ผู้ชุมนุมสลายตัวอีกประมาณ 10 นาทีต่อมา[102]

29 พฤษภาคม

  • 12:03 น. - คสช. ออกประกาศ ฉบับที่ 46/2557 ห้ามติดตามทวงหนี้ชาวนาอย่างไม่เป็นธรรม และออกคำสั่ง ฉบับที่ 30-31 เรียกบุคคลมารายงานตัวเพิ่ม[103]
  • 15:35 น. - ตำรวจปิดการจราจรรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ห้ามบุคคลภายนอกเข้า จนกว่าการชุมนุมจะยุติ[104]

6 มิถุนายน

  • 21:30 น. - เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมตัวสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด หลังจากไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่งของ คสช. โดยมีรายงานว่าถูกนำไปควบคุมตัวไว้ที่ค่ายทหาร ร.21 รอ. ชลบุรี[105]

8 มิถุนายน

  • 19:15 น. - โทรทัศน์ทุกช่องเริ่มทยอยนำตราเครื่องหมาย คสช.ออกจากมุมขวาบนของหน้าจอ (มีเพียงช่องพีพีทีวีที่แสดงอยู่มุมซ้ายบน) หลังจากได้รับอนุญาตแล้ว[106] โดยในส่วนโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก ช่องแรกที่นำออกคือ ททบ. ตามด้วยช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี, ไทยพีบีเอส, ไทยทีวีสีช่อง 3 และ สทท. อนึ่ง ตราเครื่องหมายของ คสช.ดังกล่าว ยังคงใช้แสดงที่มุมขวาบนของหน้าจอโทรทัศน์ ขณะออกประกาศหรือคำสั่งแทรกรายการปกติของทุกช่อง

9 มิถุนายน

  • เจ้าหน้าที่ทหารจับกุมทอม ดันดี ที่ ต.วังจันทร์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และนำส่งศาลทหาร[107]

10 มิถุนายน

  • ฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คสช. ปลัดกระทรวง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ รวม 28 คนต่อศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและกบฏ จากการประกาศกฎอัยการศึกและยึดอำนาจการปกครองประเทศ[108] ต่อมา ศาลอาญาให้ยกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีนี้ ศาลพิจารณาว่า ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรถือเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงมีพนักงานอัยการเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล[109]

13 มิถุนายน

  • คสช. ออกประกาศฉบับที่ 64 ประกาศยกเลิกห้ามประชาชนออกจากเคหสถานทั่วราชอาณาจักร[110]
  • ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่ทหารจับกุม นางสาวจิตรา คชเดช[111]ตามหมายจับศาลทหาร

17 มิถุนายน

กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย

กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) (อังกฤษPeace and Order Maintaining Command (POMC)) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตามประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 2/2557 หลังจากการประกาศกฎอัยการศึก ตั้งกองบัญชาการที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

การระงับการออกอากาศ ช่องโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชน

ตามคำสั่งที่ 6/2557 เรื่อง ขอความร่วมมือ ระงับการถ่ายทอดออกอากาศ ของช่องโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชน
  1. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเชียอัปเดต
  2. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ดีเอ็นเอ็น
  3. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ยูดีดี
  4. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีแอนด์พี
  5. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม โฟร์แชนแนล
  6. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอ็มวี 5
  7. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม บลูสกาย
  8. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเอสทีวี
  9. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ทีนิวส์
  10. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอฟเอ็มทีวี
  11. วิทยุชุมชน ที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้จัดตั้งตามกฎหมาย
และตามคำสั่งที่ 7/2557 เรื่อง ขอความร่วมมือ ระงับการถ่ายทอดออกอากาศ ของช่องโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชนเพิ่มเติม
  1. สถานีโทรทัศน์ วอยซ์ทีวี
  2. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ฮอตทีวี
  3. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม One Rescue
  4. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ดูบทความหลักที่: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง ซึ่งมีประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นหัวหน้า ซึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยไว้ได้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การบริหารและนโยบาย

คืนวันที่ 22 พฤษภาคม คสช. ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ นอกเหนือจากนี้ ยังสั่งยุบคณะรัฐมนตรีรักษาการ แต่วุฒิสภา ศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังทำหน้าที่ต่อ[114]
คสช. ออกประกาศให้หัวหน้าคณะใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี จนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรี[115] และยังวางตัวสมาชิกสั่งการกระทรวงและส่วนราชการที่เทียบเท่า[116][117]
ในวันที่ 23 พฤษภาคม พลเอก ประยุทธ์ แถลงว่า คสช. มุ่งดำเนินการปฏิรูปประเทศในทุกด้านก่อนมีการเลือกตั้ง มีผู้เล่าว่า พลเอก ประยุทธ์ ชี้แจงต่อหน่วยงานต่าง ๆ ว่า จำเป็นต้องรัฐประหารเพราะคู่ขัดแย้งไม่สามารถตกลงหาทางออกให้กับประเทศ ทั้งส่งผลให้ไม่มีเงินเดือนจ่ายข้าราชการในปีงบประมาณ 2558 และไม่มีใครทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เขาย้ำว่าถือการปราบปรามขบวนการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นนโยบายหลัก และเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการ คือ ปัญหาโครงการรับจำนำข้าว เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้ภายใน 15-20 วัน เขากล่าวถึงแผนพัฒนาประเทศที่จะดำเนินการในอนาคต คือ โครงการถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง[118] พลเอก ประยุทธ์กล่าวว่า จะตั้งสภาปฏิรูปและสมัชชาแห่งชาติเพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศ และจะปกครองประเทศต่อไปจนกว่าสถานการณ์ต้องการรัฐบาลชั่วคราว[119]
ไม่มีคำมั่นว่าจะกลับคืนสู่การปกครองพลเรือนโดยเร็ว ซึ่งผิดแปลกจากรัฐประหารก่อนหน้า[120] ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ประกาศว่า หัวหน้าคณะจะตัดสินใจนโยบายการบริหารประเทศ ทั้ง "ระยะสั้นและระยะยาว"[116]
วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 คสช. ยุบวุฒิสภาที่มีอยู่และให้หัวหน้าคณะมีอำนาจนิติบัญญัติ[121] คสช. ยังสั่งให้อำนาจตุลาการดำเนินการภายใต้คำสั่ง[122] คสช. ย้ายพลตำรวจเอก อดุลย์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นรองหัวหน้าคณะฯ และธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปดำรงตำแหน่งที่ไม่มีหน้าที่ในสำนักนายกรัฐมนตรี อดุลย์และธาริตถูกมองว่าภักดีต่อรัฐบาลที่ถูกยึดอำนาจ[121] พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ได้รับแต่งตั้งแทนอดุลย์[123]